เมนู

อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ 13



อรรถกถาสูตรที่ 1



เอกปุคคลวรรค สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอกปุคฺคโล แปลว่า บุคคลคนเดียว. บทว่า เอโก ใน
คำว่า เอกปุคฺคโล นี้ เป็นการกำหนดจำนวน ซึ่งมีใจความปฏิเสธ
คนที่ 2 เป็นต้น. บทว่า ปุคฺคโล เป็นคำพูดโดยสมมติ ไม่ใช่คำพูด
โดยปรมัตถ์.
จริงอยู่เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า มี 2 อย่าง คือ
สมมติเทศนา 1 ปรมัตถเทศนา 1 ใน 2 อย่างนั้น เทศนาทำนองนี้ว่า
บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร ชื่อว่า
สมมติเทศนา เทศนาทำนองนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน ชื่อว่า ปรมัตถเทศนา. ในเทศนา 2
อย่างนั้น ชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยสมมติ สามารถเข้าใจเนื้อ
ความละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดง
สมมติเทศนาแก่ชนเหล่านั้น. ส่วนชนเหล่าใด ฟังเทศนาเนื่องด้วย
ปรมัตถ์ แล้วสามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.
ในข้อนั้น พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้ :-
เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น ผู้บรรยาย
เนื้อความแห่งเวททั้ง 3 ชนเหล่าใด เมื่อพูดด้วยภาษาทมิฬ ย่อมรู้ใจ